หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux

สวัสดีครับผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเทคนิคทุกท่าน จากบทความที่แล้วผมได้กล่าวถึงการแบ่ง Partition ของระบบปฏิบัติการ Linux  และในบทความนี้ผมจะได้พูดถึง วิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Linux

วิธีการติดตั้ง Linux นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง
   วิธีการติดตั้ง Linux ของทุกค่ายคือการติดตั้งด้วยแผ่น CD หรือแผ่น DVD สำหรับการติดตั้งวิธีการอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน
วันนีจะยกตัวอย่างด้วย Linux RedHat
Linux RedHat มีวิธีการติดตั้งได้ 6 วิธีดังนี้
   1. CD / DVD เป็นวิธีที่ง่าย และสะดวก ได้รับความนิยมมากที่สุด
   2. NFS เป็นการติดตั้งผ่าน NFS Network file system ซึ่งเป็นการแชร์ไฟล์ของ Linux วิธีนี้เหมาะสำหรับการติดตั้งเพื่อการอบรม Linux สามารถติดตั้งได้พร้อมกันหลายๆ เครื่อง จะเร็วกว่าติดตั้งจากแผ่น CD เนื่องจากไม่ต้องคอยเปลี่ยนแผ่นบ่อยๆให้เสียเวลา
   3. HTTP ติดตั้งผ่าน web เซิร์ฟเวอร์
   4. FTP ติดตั้งผ่าน FTP เซิร์ฟเวอร์
   5. Hard Disk ติดตั้งผ่านฮาร์ดดิส อีกลูกหรืออีก Partition หนึ่ง
   6. Kickstart ติดตั้งโดยใช้ไฟล์ kickstart เหมาะสำหรับการติดตั้ง Linux พร้อมกันจำนวนมาก
โดยที่เครื่องสเปคเดียวกัน และติดตั้งเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นขนาด partition หรือจำนวน package

หลักการติดตั้ง Linux
   การติดตั้งLinux มีส่วนสำคัญตรงขั้นตอนแบ่ง partition เพราะเราต้องรู้ว่าเราจะติดตั้ง Linux เพื่อใช้งานอะไร ในการติดตั้ง Linux นั้น partition  ที่จำเป็นได้แก่ / (อ่านว่า รูท), /boot, swap แต่ในการนำ Linux เซิร์ฟเวอร์ ไปใช้งานจริงนั้นการแบ่ง partition เพียงเท่านี้ ไม่สะดวกในการนำไปใช้งาน จะต้องมีการแบ่ง partition อื่นๆ ออกมาด้วย เช่น
ต้องการทำ mail เซิร์ฟเวอร์ 
      /boot                        พื้นที่เก็บ Kernel และไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับการบูท
      /                               พื้นที่เก็บไฟล์ซิสเต็ม
      /home                     พื้นที่ใช้งานของ user
      /var/spool/mail       พื้นที่เก็บ mail
      /tmp                        พื้นที่เก็บไฟล์ชั่วคราว
      swap                      พื้นที่ที่ใช้เป็นหน่วยความจำสำารอง เวลา RAM ไม่พอ
ต้องการทำ PostgreSQL Database เซิร์ฟเวอร์
       /boot                       พื้นที่เก็บ Kernel และไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับการบูท
       /                              พื้นที่เก็บไฟล์ซิสเต็ม
       /usr/local/pgsql     พื้นที่เก็บข้อมูลของ PostgreSQL
       /backup                 พื้นที่ไว้สำารองข้อมูลของ PostgreSQL
       /tmp                       พื้นที่เก็บไฟล์ชั่วคราว
       swap                     พื้นที่ที่ใช้เป็นหน่วยความจำาสำรอง เวลา RAM ไม่พอ
ขนาดของแต่ละ partition
      /boot                      100 MB
     /                               6-8 GB
     /tmp                        256 MB
    swap                       2 เท่าของ RAM แต่ไม่เกิน 2 GB
    ส่วนพาร์ติชันอื่นๆ แบ่งตามขนาดของฮาร์ดดิสก์ และความต้องการใช้งาน
    พาร์ติชัน /tmp เป็นพาร์ติชันที่แยกออกมาเพื่อความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ถ้าพาร์ติชัน / ข้อมูลเต็มก็จะไม่มีผลกระทบกับระบบ
พาร์ติชันที่แยกออกมาได้และไม่ได้จาก / ของการติดตั้ง Linux
   พาร์ติชันที่ไม่สามารถแยกออกจาก / (รูทไดเรกทอรี) หรือแยกจากไฟล์ซิสเต็มได้ คือ /etc,/lib,/bin,/sbin,/dev
   พาร์ติชันที่สามารถแยกออกมาได้ /tmp, /usr, /usr/local, /home, /var, /opt
ทำไมต้องแยกหรือแบ่งพาร์ติชันออกมา
  เพื่อความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถแก้ปัญหาได้ง่ายเมื่อฮาร์ดดิสก์เต็ม สามารถทำโควต้าได้
ถ้าเราไม่แบ่ง partition แยกออกมาเราจะไม่สามารถทำโควต้าได้ นอกจากนั้นยังสะดวกในการสำารองข้อมูล
 Partition /boot
   Partition /boot ต้องเป็น partition แรกของฮาร์ดดิสก์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น